การเรียน writing and translation
กับ ดร.พี่นุ้ย English Breakfast ที่ Nui-English

Writing หรือการเขียนภาษาอังกฤษเป็นปัญหาที่น้องๆหลายคนประสบเมื่อต้องสอบ TOEFL, IELTS เรียนต่อต่างประเทศ และสอบชิงทุนการศึกษา ปัจจุบันข้อสอบนิยมวัดผลโดยการใช้การเขียน writing เพราะการเขียน (writing) สะท้อนให้เห็นถึงความคิด มุมมอง รวมถึงระดับภาษาได้ดีกว่าการทำข้อสอบแบบอื่นๆ พี่นุ้ยจึงอยากนำประสบการณ์การเรียน writing ในต่างประเทศมาแบ่งปันให้แก่น้องๆในคอร์ส writing and translation เรามาลองดูกันดีกว่าว่าในต่างประเทศมีกระบวนการเรียนการสอน writing อย่างไร

ตอนที่พี่นุ้ยไปเรียนปริญญาโท MA. Speech Communication ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีโอกาสลงเรียนคอร์ส academic writing เลยทำให้เห็นถึงวิธีการเรียนการสอนที่แตกต่างกันระหว่างต่างประเทศกับประเทศไทย พี่นุ้ยเคยเรียน writing มาหลายที่แต่ส่วนใหญ่มักจะสอนตามหนังสือเป็นบทๆ ไม่ได้มีโอกาสทำจริง หรือถ้าทำก็มีคนมาตรวจมาให้แล้วบอกมาเลยว่าแก้อย่างไรโดยเราไม่รู้เลยว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น เราผิดตรงไหน ผิดเพราะอะไร ได้มาแต่กระดาษหนึ่งแผ่นที่มีวงสีแดงๆมา พอได้ไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา อาจารย์ไม่ได้สอนแบบนั้นเลย แต่กลับให้โอกาสนักเรียนในการฝึกปฏิบัติจริง คลาส writing จึงเป็นชั้นเรียนเล็ก ให้นักเรียนฝึกระดมสมอง แต่ละคนต่างเขียนงานของตัวเองมา แล้วเอาขึ้นบนสไลด์ มาวิจารณ์กันว่าดีไม่ดีอย่างไร ผิดตรงไหน แล้วอ้างอิงถึงหลักไวยากรณ์ ทำให้เราสามารถเข้าใจและใช้ภาษาอังกฤษได้จริงๆ

จากการสอนภาษาอังกฤษที่ Nui-English และประสบการณ์ในการทำรายการ English Breakfast พี่นุ้ยสังเกตได้เลยว่าคนไทยที่เขียนภาษาอังกฤษจะมีข้อผิดพลาดในสองระดับคือ 1, ไวยากรณ์ผิด  2. ไวยากรณ์ถูกแต่ระดับภาษาต่ำไป ไม่สวยงาม แต่ความผิดพวกนี้สามารถแก้ได้ถ้าหากมีครูหรือผู้รู้ชี้แนะว่ามันผิดตรงไหน เพราะอะไร เพราะถ้าเราไม่รู้ว่าเราผิดตรงไหน เราก็ไม่คิดที่จะแก้ไข เวลาพี่นุ้ยสอน writing จึงพยายามกระตุ้นให้นักเรียนเขียนหรือเอางานเขียนเก่าๆมาให้วิเคราะห์วิจารณ์ และยังสอนหลักการแปลด้วยจะได้เปลี่ยนความคิดของเราที่เป็นภาษาไทยให้กลายเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง นอกเหนือจากการให้ทำข้อสอบเรื่องไวยากรณ์

เรามาลองดูตัวอย่างการแก้ไข writing กัน (ตัวอย่างด้านล่างนี้มาจากการตอบคำถามในรายการ English Breakfast และการแก้ไขบทความภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ Nui-English)

I take it nearly the arch. ( ผมตั้งใจให้มีความหมายว่า “ผมวางมันใกล้ซุ้มประตู”) อย่างนี้พี่นุ้ยว่าควรจะเปลี่ยนเป็น I place it near the arch.  เพราะ nearly แปลว่า เกือบจะ  เท่ากับ almost ต้องใช้ near เป็นบุพบท ตรงนี้ต้องเข้าใจเรื่องหน้าที่ของคำด้วยว่าถ้า nearly เป็น adverb ไว้ใช้ขยายกริยา แต่ตรงนี้ต้องการจะบอกสถานที่ต้องใช้บุพบทซึ่งก็คือคำว่า near 
นอกจากนั้น take ควรจะเปลี่ยนเป็น place เพราะ take มักมีความหมายว่าย้ายออกไป เช่น I take an umbrella with me ตรงนี้จึงควรเปลี่ยนเป็น place ที่เป็นกริยาแปลว่า “วาง”และจริงๆน่าจะเปลี่ยน place เป็นช่องที่ 2 คือ placed ด้วยเพราะเรื่องเกิดขึ้นไปแล้ว
ถ้าจะแก้เพิ่มในแง่โครงสร้าง พี่นุ้ยจะเปลี่ยนประโยคนี้ให้เป็น passive voice หรือประโยคถูกกระทำเพราะประธาน I นั้นไม่สำคัญ เราสนใจตำแหน่งและการวางมากกว่า ตรงนี้น้องๆนักเรียนก็ต้องหันกลับไปดูหลักไวยากรณ์แล้วจะได้ประโยคใหม่เป็น It is placed หรือ was placed near the arch.
I am a forget man. แบบนี้ก็ผิดเพราะประโยคหนึ่งประโยคมีกริยาแท้ได้แค่ตัวถ้าไม่มีคำสันธาน ดังนั้นเราจะเติมคำว่า forget ลงมาไม่ได้ เพราะมีกริยาคือ am อยู่แล้ว ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนคำว่า forget เป็น forgetful เป็น adjective ไปขยายคำว่า man ซึ่งถ้าแก้ให้ภาษาสวยงามขึ้นจะใช้ว่า I keep on forgetting things.
ความผิดพลาดประเภทต่อมาก็คือการใช้ระดับภาษาต่ำไป เช่นบางคนเขียนว่า 
Young people like the city. ซึ่งก็ถือว่าถูกไวยากรณ์แต่ไม่ประทับใจ ตรงนี้น่าจะเปลี่ยนเป็น Young people tend to have favorable attitudes towards life in the city. แม้ความหมายจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่ให้ความรู้สึกในการเขียนภาษาอังกฤษที่ดีกว่าเยอะ
I would like to study abroad. เช่นเคยตรงนี้ถูกไวยากรณ์แต่ไม่ประทับใจ พี่นุ้ยจึงเปลี่ยนเป็น I would like to pursue a master’s degree in a foreign country. หรือ I am encouraged to pursue a master degree in a foreign country.

เรียนภาษาอังกฤษ ที่ Nui-English

credit ภาพจากหนังสือ just ask พี่นุ้ย ไขปัญหาภาษาอังกฤษกวนใจ

กว่าเราจะพัฒนาให้มีระดับภาษาที่ดีขึ้นมันต้องใช้ระยะเวลาและชั่วโมงบินซึ่งก็ได้มาจากการฝึกฝนและมีผู้รู้คอยแนะนำ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน writing, academic writing, business writing และการแปล (translation) ก็มาจากหลักการเดียวกันคือต้องรู้หลักไวยากรณ์และใช้ให้เป็น รู้คำศัพท์ที่จำเป็นบ้าง แต่ถ้ารู้มากก็จะใช้ช่วยให้งานเขียนเราดูดีขึ้นมาได้เยอะ การเรียนการเขียนยังมีส่วนช่วยในการสนทนา (conversation) หลายๆคนเคยบอกว่าเราต้องหัดคิดเป็นภาษาอังกฤษ แต่จากประสบการณ์จริง พี่นุ้ยพบว่านักเรียนไทยซึ่งโดยมากใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองจะไม่สามารถคิดเป็นภาษาอังกฤษได้ แต่เราสามารถพูดและเขียนได้อย่างถูกต้องหากเรามี structure หรือโครงสร้างของภาษาอยู่ในใจ

Writing and Translation

Course Description: The course focuses upon grammatical aspects of English and writing skills with an aim to brush up students’ structural knowledge, to enlarge their repertoire of writing strategies and to enhance an ability to communicate effectively in English. In this regard, the students are expected to share ideas and bring pieces of writing into class discussion

Learning and Teaching Plan

The class will be divided into three phases as follows:
Introduction of Essay Writing, Outline and Organization
The students are going to have a basic idea of what an essay, memo writing and presentation are. The first three classes emphasize theoretical principles of writing and speaking, rather than the application.

Grammatical Points, Syntax and Sentence Variation
Major topics of grammar will be reviewed. Teaching methods include multiple-choice exercises, error check, conversation, essay writing and rewriting.

Writing Samples and Discussion
During this final period, the students will be exposed to writing samples or case studies from various fields, such as communication, business, marketing, as well as general subjects. Class discussion will develop their ability to analyze, revise, edit and proofread for errors. In addition, the students are encouraged to go beyond essay to other forms of writing which include business letters, reports and research, as well as to bring in external resources to back up her arguments.

Note: This tentative outline is applied to both beginner and imediate session. However, methods of instruction and materials might vary depending on the students’ background of knowledge and pre-assessment results.

                                                     Kru Nui  (Samita Muadtong)
Ph.D. Development Management, NIDA (Awarded a Ph.D. Research Scholarship) 
MA. Speech Communication, Portland State University (Awarded a Royal Thai Government Scholarship)
MA. International Boundaries, University of Durham (Awarded a Shell Centenary and Chevening Scholarship)
B.A. English (First-Class Honors), Chulalongkorn University

เรียนภาษาอังกฤษ ที่ Nui-English

credit ภาพจากหนังสือ just ask พี่นุ้ย ไขปัญหาภาษาอังกฤษกวนใจ


คลิกที่นี่เพื่ออ่านเรื่องอื่นๆ