?????????????????? English Breakfast
ช่อง Thai PBS วันเสาร์ 9.00 น.
ติดตามฟังพี่นุ้ยที่ MixRadio FM.96.75
หรือคลิกฟังได้ที่นี่
??? TopRadio FM. 98.75 ?????? ???????????????ิ
????????????????????? Nui-English Nui-English
อาคารบ้านสิ่งแวดล้อม
3/25-27 ปากซอยเรวดี 45
อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
มือถือ 089-883-4523
อีเมล์ nuienglish@hotmail.com
ตั้งกระทู้ถาม-ตอบปัญหาภาษาอังกฤษกับพี่นุ้ยได้ที่
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง |
Dear P’Nui,
ผู้ดำเนินรายการ" ใช้คำว่า "moderator" ถูกต้องไหมคะ?
ติดตามพี่นุ้ยทุกสัปดาห์เลยค่ะ ถ้าสัปดาห์ไหนพลาดก็ต้องมาเปิดชมย้อนหลังในเว็บไซต์ ได้ประโยชน์กับการทำงานมากๆ
ขอบคุณค่ะ
พี่นุ้ยตอบ:
พิธีกร master of ceremony เหมือนเป็นโฆษกตามงานต่างๆ เรียกย่อๆว่า เอ็มซี
moderator พิธีกรรายการ พวกนี้มักเป็นผู้สัมภาษณ์ ควบคุมไม่ให้ออกนอกเรื่อง คอยสรุปประเด็น
host พิธีกรรายการ ดำเนินรายการไปเอง อย่างพี่เต้ (English Breakfast) นี่เป็น host ค่ะ
พี่นุ้ยขอเติมให้นะคะว่าถ้าเป็นล่ามแปลภาษาจะเรียกว่า interpreter หรือ translator
กรณีที่เน้นไปเลยว่าแปลสดแบบที่พี่นุ้ยเคยเป็นล่ามภาษาอังกฤษ พูดมาปุ๊บแปลปั๊บ ใช้ simultaneous translator หรือ simultaneous interpreter
ทีนี้มาถึงเวลาเล่าประสบการณ์ให้ฟังแล้วค่ะ ในทุกบทบาทที่ทำตั้งแต่พิธีกรตอบคำถามภาษาอังกฤษรายการ English Breakfast การเป็น MC ตั้งแต่สมัยอยู่กระทรวงศึกษาธิการ และการเป็นล่ามแปลภาษาอังกฤษ (ในช่วงที่นายสมชาย วงสวัสดิ์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) หรือแม้แต่เป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่ Nui-English พี่นุ้ยว่าที่ยากและโหดที่สุดก็คือการเป็นล่ามแปลภาษาอังกฤษแบบ simultaneous translator เพราะพูดมาแล้วแปลเลย ในขณะที่ MC ก็เป็นพิธีกรนิดๆหน่อยๆเชิญวิทยากร ขอบคุณวิทยากร สรุปความคิดคร่าวๆ
ปัจจัยที่ทำให้เครียดที่สุดเวลาต้องไปเป็นล่ามแปลภาษาอังกฤษ ก็คือ ไม่รู้ว่าท่านๆทั้งหลายจะสนทนาอะไรกัน แม้ว่าก่อนไปทำงานทุกครั้งจะมีเอกสารสรุปประเด็นมาให้ แต่พอไปถึงวงสนทนาจริงๆอาจจะพบว่า อ้าว! ไม่เห็นคุยอย่างที่เขียนเลย เอาเป็นว่า เอกสารสรุปพอใช้เป็นแนวทางและพื้นความรู้ได้ เหมือนกับดูหนังสือสอบไปแต่เวลาสอบจริงต้องเอาไปประยุกต์
อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นงานที่มี theme แน่นอน การเป็นล่ามแปลภาษาอังกฤษก็ไม่ยากเท่าไร เพราะว่าเตรียมตัวได้ ไปอ่านหนังสือมาก่อน พี่นุ้ยเคยไปงานของกระทรวงอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม งานนั้นแม้จะเป็นการแปลภาษาอังกฤษ-ไทยสดๆ แต่ก็ไม่ยาก เพราะเราได้อ่าน presentation และเอกสารทั้งหมดล่วงหน้า แถมไปค้นคว้าเพิ่มเติมก่อนถึงวันงานได้อีกด้วย
ที่ยากจริงๆและขอยืนยันก็คือ การเป็นล่ามในงานเยี่ยมคารวะอย่างที่อธิบายไป เรื่องก็เตรียมลำบาก แถมพิธีการต้องเป๊ะๆด้วย มีทั้งทูตบวกคนใหญ่คนโต ถือเป็นท้าทายและความเสี่ยงสูงมาก ถ้าใครอยากลองทำอะไรเสี่ยงๆสักอย่างดูในชีวิต ขอแนะนำให้มาเป็นล่ามแปลภาษาอังกฤษสดๆดู
พี่นุ้ยเคยเห็นบางคนที่ชั่วโมงบินไม่ค่อยสูง หากไปเป็นล่ามแปลสดๆก็จะพลาดกันได้ง่ายดายมากๆ การพลาดก็มีตั้งแต่แปลไม่ออก ชะงักกันไปเลย หรือแปลได้ แต่ได้แบบเอาตัวรอดไปแกนๆ ใช้ศัพท์และโครงสร้างระดับพื้นฐานมาก (แต่อันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าทำงานอะไร งานทางการแค่ไหน งานส่วนใหญ่ที่พี่นุ้ยรับจะเข้าขั้นทางการมากๆ ต้องใช้ภาษาสละสลวย ให้ออกไปแบบชาวบ้านๆไมได้)
ถามว่า พี่นุ้ยมีพลาดบ้างมั้ย ตอบได้เลยว่า มีค่ะ อย่างเช่นบางทีแปลตัวเลข แล้วแปลตกไปหนึ่งเช่น เช่น ร้อย พูดว่า สิบ แบบนี้ก็มี แถมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองพูดผิด เราก้อเข้าใจว่าเราพูดถูก แบบนี้คือไม่มีสมาธิ หรือบางทีวิทยากรหรือใครก็ตามที่พูดให้เราแปลเกิดติดลม พูดยาวเกินไป เราเบรกไม่ทัน ความยาวและความคิดที่เยอะเกินไปทำให้เราจดจำได้ไม่หมด แปลไปได้แค่ key idea หรือความคิดหลักเท่านั้น
มาถึงประสบการณ์ที่หลายคนคงสนใจคือการเป็นพิธีกรตอบคำถามภาษาอังกฤษในรายการ English Breakfast ขั้นตอนการทำงานไม่ยากค่ะ เริ่มตั้งแต่
กรณีที่พูดผิดก็ถ่ายซ่อมได้อีกต่างหาก คือ ถ้าวันไหนดี ก็ดีไป ทำแล้วผ่านตลอด แต่ถ้าวันไหน จิตใจสับสน ก็อาจจะพูดผิดจนเซ็งตัวเองได้
ในส่วนการเตรียมตัวของพี่นุ้ยในการทำงานทั้งหลายเหล่านี้ ก็คือ อ่านหนังสือเยอะๆ ศึกษาหาความรู้ภาษาอังกฤษอยู่เสมอ เพราะงานที่พี่นุ้ยทำจะไม่ใช่แค่พิธีกรหรือโฆษกธรรมดา แต่ค่อนข้างอิงกับวิชาการ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษมากทีเดียว งานพวกนี้จะยากกว่าการสอนเยอะ เพราะการสอนเป็นการถ่ายทอดในสิ่งที่เรารู้แล้ว แต่ทุกครั้งที่รับงานพิธีกรหรืองานแปล พี่นุ้ยจะได้พบกับโจทย์ใหม่ๆ ความรู้ใหม่ๆ และความท้าทายที่ทำให้ชีวิตมีรสชาติไปอีกแบบค่ะ
คลิกที่นี่เพื่ออ่านเรื่องอื่นๆ